วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

การสรุป


การสรุปความ
การสรุปความ
 เป็นการสรุปเรื่องราวจากการฟังหรือการอ่าน ผู้ฟังหรือผู้อ่านจะต้องจับใจความและสรุปใจความสำคัญของเรื่อง เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานของการพูด หรือการเขียนสรุปความต่อไป
การอ่าน และฟังเพื่อสรุปความ จะต้องจับประเด็นให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร แล้วจดบันทึกไว้ จากนั้นจึงสรุปความของเรื่องที่อ่านหรือฟัง
ตัวอย่าง การสรุปความ
                                                                               เรื่อง ปราสาทเขาพนมรุ้ง
          ปราสาทเขาพนมรุ้งเป็นเทวสถานที่สร้างถวายพระศิวะ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่ ปราสาทเขาพนมรุ้งสร้างต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๕๐๑ - ๑๗๐๐ กษัตริย์ขอมผู้สร้างปราสาทที่สำคัญพระองค์หนึ่ง คือ พระเจ้าหิรัณยวรมัน ด้วยเหตุนี้จึงได้นำชื่อของพระองค์มาตั้งชื่อเส้นทางที่ตัดเข้าสู่เขาพนมรุ้ง
                                                                          จาก หนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เล่ม ๒ หน้า ๔
วิธีสรุปความ
           ใคร                      พระเจ้าหิรัณยวรมัน กษัตริย์ของพระองค์หนึ่ง
           ทำอะไร               สร้างปราสาทพนมรุ้ง
           เมื่อไร                  พ.ศ. ๑๕๐๑ - ๑๗๐๐
           อย่างไร               เพื่อถวามพระศิวะ
           ผลเป็นอย่างไร    นำชื่อของพระเจ้าหิรัณยวรมันมาตั้งเป็นชื่อถนน
สรุปความได้ ดังนี้
           พระเจ้าหิรัณยวรมัน เป็นกษัตริย์ของพระองค์หนึ่งที่สร้างปราสาทเขาพนมรุ้งในระหว่าง พ.ศ. ๑๕๐๑ - ๑๗๐๐ เพื่อถวามพระศิวะ จึงได้นำชื่อของพระองค์มาตั้งเป็นชื่อถนน

การจดจำ


ความหมายของ "ความจำ" เป็นคำที่ใช้อธิบายวิธีการที่ข้อมูล หรือสิ่งที่เรียนรู้ถูกบันทึก และเก็บไว้ถาวรในความจำระยะยาวและสามารถที่จะค้นคืนหรือเรียกมาใช้ (Retrieve) ในเวลาที่ต้องการได้ ความรู้ที่นักเรียนเรียนรู้แล้วแต่จำไม่ได้ก็จะไม่มีประโยชน์ นักเรียนส่วนมากจะไม่มีวิธีการเรียนและวิธีจดจำที่มีประสิทธิภาพ วิธีทั่วๆไป
ที่นักเรียนใช้อยู่เสมอ เช่น การอ่านทบทวนการสรุปและการขีดเส้นใต้ใจความสำคัญนั้น ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยความจำ ความจริงแล้วมนุษย์เราได้ค้นพบวิธีช่วยความจำ (Memonic Device) ที่ได้ผลดีมากมานานนับเป็นพันๆ ปีแล้ว เยสท์ ลูเรีย ฮันท์ และเลิฟ (Yates, 1966 Luria, 1968 Hunt and Love, 1972) พบว่า การสอนเทคนิคในการช่วยความจำให้แก่นักเรียน เพื่อนักเรียนจะได้เก็บสิ่งที่เรียนรู้ไว้ในความทรงจำได้นาน ๆ
เทคนิคช่วยความจำที่ใช้กันอยู่มีทั้งหมด 6 วิธี คือ
(1) การสร้างเสียงสัมผัส
(2) การสร้างคำเพื่อช่วยความจำจากอักษรตัวแรกของแต่ละคำ
(3) การสร้างประโยคที่มีความหมายจากอักษรตัวแรกของกลุ่มของที่จะจำ
(4) วิธี Pegword
(5) วิธีโลไซ (Loce)
(6) วิธี Keyword ซึ่งเป็นวิธีที่ใหม่ที่สุด
1. การสร้างเสียงสัมผัส เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีมาก และสิ่งที่จดจำจะอยู่ในความทรงจำเป็นเวลานาน บทเรียนภาษาไทยมีผู้คิดแต่งกลอนที่มีสัมผัสและมีความหมายเพื่อให้จำได้ง่าย เช่น การจำการันใช้ไม้ม้วนและคำที่ขึ้นต้นด้วย " บัน "


2. การสร้างคำเพื่อช่วยความจำจากอักษรตัวแรกของแต่ละคำ การสร้างคำเพื่อช่วยความจำวิธีนี้ทำได้โดยการนำอักษรตัวแรกของแต่ละคำที่จะต้องการจำมาเน้นคำใหม่ที่มีความหมาย เช่น การจำชื่อทะเลสาปที่ใหญ่ทั้งห้าของอเมริกาเหนือสร้างคำว่า Homes ซึ่งหมายถึงทะเลสาป Huron, Ontario, Michigan, Eric, Superior ตามลำดับการท่องจำทิศทั้ง 8 ก็มีผู้คิดว่า ควรจะท่องจำ "อุ-อิ-บุ-อา-ทัก-หอ-ประ-พา" เริ่มจากทิศเหนือแล้ววนขวาตามลำดับ


3. การสร้างประโยคที่ความหมายช่วยความจำ (Acrostic) ตัวอย่างการใช้ประโยคที่มีความหมายสร้างจากอักษรตัวแรกของการจำชื่อ 9 จังหวัดที่อยู่ในภาคเหนือของประเทศไทยว่า "ชิดชัยมิลังเลเพียงพบอนงค์" ซึ่งศาสตราจารย์สมุน อมรวิวัฒน์ ได้คิดขึ้น ถ้าถอดคำออกมาจะเป็นชื่อจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปางแพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ น่าน


4. วิธี Pegword เป็นวิธีที่มีประโยชน์สำหรับการท่องจำรายชื่อ สิ่งของหลาย ๆ อย่างที่จะต้องมีลำดับ 1, 2, 3…การใช้จำเป็นจะต้องสร้าง Pegs ขึ้น และท่องจำปกติ มักจะใช้ตัวเลขมีความสัมผัสกับสิ่งของให้มีเสียงสัมผัส(Rhyme)การใช้ก็ต้องใช้จินตนาการช่วยในการจำ การไปซื้อของหลายอย่างอาจจะใช้วิธี Pegword ตัวอย่างเช่น ต้องซื้อของ 7-8 อย่าง อย่างที่หนึ่ง คือ สี อย่างที่สอง คือ ดอกกุหลาบ ฯลฯ ก็อาจจะใช้จิตนาการว่า Bun ลอยอยู่บนป๋องสี เป็นอย่างที่ 1 และดอกกุหลาบโผล่ออกมาที่รองเท้า ประโยชน์ของวิธี Pegword ช่วยความจำ เป็นการช่วยให้ระลึกให้ง่าย และอาจจะระลึกได้ง่ายทั้งลำดับปกติ คือจากหน้าไปหลัง (Foreard) หรือย้อนจากหลังไปหน้า (Backwards)


5.วิธีโลไซ (Loci Method) วิธีโลไซนับว่าเป็นวิธีช่วยความจำที่เก่าแก่ที่สุด คำว่า "Loci" แปลว่า ตำแหน่ง แหล่งที่มาของวิธีโลไซไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มีเรื่องนิยายเกี่ยวกับวิธีช่วยความจำโลไซที่เล่าต่อ ๆ กันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีวิธีโลไซเน้นหลักการจำโดยการสร้างมโนภาพเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ต้องการจะจำ โดยใช้สถานที่และตำแหน่งเป็นสิ่งเตือนความจำ (Memory Pegs) เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อราว 450 ปี ก่อนคริสตกาล
วิธีช่วยความจำ โลไซมักจะใช้ช่วยความจำเกี่ยวกับสถานที่ เช่น ห้องต่าง ๆ ในบ้าน อาคารต่าง ๆ ของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย หรือร้านค้าต่าง ๆ บนถนนก็ได้ กฎเกณฑ์พื้นฐานของวิธีช่วยความจำโลไซมีดังต่อไปนี้
1.สถานที่หรือตำแหน่งต่าง ๆ ที่จะเลือกใช้ควรจะอยู่ใกล้กัน
2.จำนวนสถานที่หรือตำแหน่งที่จะใช้ควรจะเป็นจำนวนไม่เกิน 10 แห่ง
3.ควรกำหนดหมายเลขให้แต่ละสถานที่ตามลำดับตั้งแต่หนึ่งไปจนถึงสถานที่สุดท้าย และควรจะสามารถระลึกได้ทั้งหน้าไปหลังและหลังไปหน้า
4.สถานที่ใช้ควรจะเป็นที่ ๆ คุ้นเคย และผู้ใช้สามารถจะนึกภาพได้อย่างชัดเจน ฉะนั้นสถานที่ ๆ จะใช้ควรจะมาจากประสบการณ์
5.สถานที่จะใช้เป็นเครื่องช่วยความจำโลไซ ควรจะมีลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นชัด ผู้ใช้ควร
จะเน้นสิ่งเด่นของแต่ละสถานที่
6.ผู้ใช้จะต้องสามารถที่จะสร้างจินตนาการภาพของลักษณะเดิมของแต่ละสถานที่ได้ เป็นต้นว่าเครื่องแต่งห้องมีลักษณะพิเศษอะไรบ้าง
ในการปฏิบัติ ผู้ที่ประสงค์จะใช้วิธีช่วยความจำโลไซจะต้องนำมาเป็นสิ่งแรกคือ เลือกหาสถานที่ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบตามธรรมชาติ เช่น บ้าน สิ่งแรกคือห้องรับแขก ห้องอาหาร ห้องครัว เป็นต้น หลังจากนั้นก็นำสิ่งที่คนอยากจะจดจำ อาจจะเป็นสิ่งของเหตุการณ์หรือความคิดก็ได้ พยายามเชื่อมโยงสิ่งที่จะจำกับสถานที่หรือสิ่งของที่ได้ให้หมายเลขไว้ และเมื่อจะระลึกถึงสิ่งที่ต้องการจำก็เริ่มจากหมายเลข 1 เป็นต้นไป
Kla : วิธีนี้เป็นวิธี นักจำแชมป์โลก ส่วนใหญ่ใช้กันอยู่นะครับ   ยกตัวอย่างในการแข่งขัน จดจำตัวเลข โดยจะสุ่มขึ้นมาเช่น  1 3 2 3 5 5  โดยให้เวลาจำทั้งหมด 1 ชั่วโมง และให้เวลาเรียนตัวเลข 2 ชั่วโมง   DR-Gunther จดจำตัวเลขได้ 1949 ตัว โดยสามารถทวนตัวเลขได้อย่างสมบูรณ์แบบ  แถมยังเป็น แชมป์อีก 8 สมัย

การสื่อสาร


การสื่อสาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส อาจอยู่ในรูปแบบของท่าทางสัญลักษณ์ บ้างอย่างอยู่ในรูปแบบของภาษา การสื่อสารเกิดจากความต้องการที่คนจะส่งข้อมูลหากัน การศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารอาจจำแนกได้หลายหมวดหมู่ ได้แก่

[แก้]รูปแบบของการสื่อสาร