การสรุปความ
การสรุปความ เป็นการสรุปเรื่องราวจากการฟังหรือการอ่าน ผู้ฟังหรือผู้อ่านจะต้องจับใจความและสรุปใจความสำคัญของเรื่อง เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานของการพูด หรือการเขียนสรุปความต่อไป
การสรุปความ เป็นการสรุปเรื่องราวจากการฟังหรือการอ่าน ผู้ฟังหรือผู้อ่านจะต้องจับใจความและสรุปใจความสำคัญของเรื่อง เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานของการพูด หรือการเขียนสรุปความต่อไป
การอ่าน และฟังเพื่อสรุปความ จะต้องจับประเด็นให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร แล้วจดบันทึกไว้ จากนั้นจึงสรุปความของเรื่องที่อ่านหรือฟัง
ตัวอย่าง การสรุปความ
เรื่อง ปราสาทเขาพนมรุ้ง
ปราสาทเขาพนมรุ้งเป็นเทวสถานที่สร้างถวายพระศิวะ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่ ปราสาทเขาพนมรุ้งสร้างต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๕๐๑ - ๑๗๐๐ กษัตริย์ขอมผู้สร้างปราสาทที่สำคัญพระองค์หนึ่ง คือ พระเจ้าหิรัณยวรมัน ด้วยเหตุนี้จึงได้นำชื่อของพระองค์มาตั้งชื่อเส้นทางที่ตัดเข้าสู่เขาพนมรุ้ง
จาก หนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เล่ม ๒ หน้า ๔
ปราสาทเขาพนมรุ้งเป็นเทวสถานที่สร้างถวายพระศิวะ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่ ปราสาทเขาพนมรุ้งสร้างต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๕๐๑ - ๑๗๐๐ กษัตริย์ขอมผู้สร้างปราสาทที่สำคัญพระองค์หนึ่ง คือ พระเจ้าหิรัณยวรมัน ด้วยเหตุนี้จึงได้นำชื่อของพระองค์มาตั้งชื่อเส้นทางที่ตัดเข้าสู่เขาพนมรุ้ง
จาก หนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เล่ม ๒ หน้า ๔
วิธีสรุปความ
ใคร พระเจ้าหิรัณยวรมัน กษัตริย์ของพระองค์หนึ่ง
ทำอะไร สร้างปราสาทพนมรุ้ง
เมื่อไร พ.ศ. ๑๕๐๑ - ๑๗๐๐
อย่างไร เพื่อถวามพระศิวะ
ผลเป็นอย่างไร นำชื่อของพระเจ้าหิรัณยวรมันมาตั้งเป็นชื่อถนน
ใคร พระเจ้าหิรัณยวรมัน กษัตริย์ของพระองค์หนึ่ง
ทำอะไร สร้างปราสาทพนมรุ้ง
เมื่อไร พ.ศ. ๑๕๐๑ - ๑๗๐๐
อย่างไร เพื่อถวามพระศิวะ
ผลเป็นอย่างไร นำชื่อของพระเจ้าหิรัณยวรมันมาตั้งเป็นชื่อถนน
สรุปความได้ ดังนี้
พระเจ้าหิรัณยวรมัน เป็นกษัตริย์ของพระองค์หนึ่งที่สร้างปราสาทเขาพนมรุ้งในระหว่าง พ.ศ. ๑๕๐๑ - ๑๗๐๐ เพื่อถวามพระศิวะ จึงได้นำชื่อของพระองค์มาตั้งเป็นชื่อถนน
พระเจ้าหิรัณยวรมัน เป็นกษัตริย์ของพระองค์หนึ่งที่สร้างปราสาทเขาพนมรุ้งในระหว่าง พ.ศ. ๑๕๐๑ - ๑๗๐๐ เพื่อถวามพระศิวะ จึงได้นำชื่อของพระองค์มาตั้งเป็นชื่อถนน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น