หน้าแรก


ทักษะการเขียน

นางสาวชนิดา ภูมิสถิตย์
       การเขียนเป็นระบบการสื่อสาร หรือบันทึกถ่ายทอดภาษาเพื่อแสดงออกซึ่งความรู้ ความคิด ความรู้สึก และอารมณ์โดย ใช้ตัวหนังสือ และเครื่องหมายต่างๆเป็นสื่อ ดังนั้น การเขียนจึงเป็นทักษะการใช้ ภาษา แทนคำพูดที่สามารถสื่อความหมายให้เป็นหลักฐานปรากฏได้นานกว่าการพูด การเขียนที่เป็น เรื่องราวเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงตามความมุ่งหมายของผู้เขียนนั้น จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ส่วนสำคัญขึ้นอยู่กับว่าผู้เขียนมีทักษะในการใช้ภาษาเขียนได้ดีเพียงใด ทักษะการใช้ภาษาเขียน ต้องอาศัย พื้นฐานความรู้จากการฟัง การพูด และการอ่าน เพราะจากพื้นฐานดังกล่าว จะทำให้มีความรู้ มีข้อมูล และมี ประสบการณ์เพียงพอที่จะให้เกิดความคิด ความสามารถในการเรียบเรียงและถ่ายทอดความคิดออกมา สื่อสารกับผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะในการเขียน : ศาสตร์และศิลป์แห่งการใช้คำ 
การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายเป็นศาสตร์ที่ผู้ใช้ต้องรู้จักคำและเลือกใช้คำให้ถูกต้อง เหมาะสม ตรง ความหมาย ตรงราชาศัพท์ เหมาะกับกาลเทศะ ไม่ใช้คำซ้ำซ้อน รู้จักหลบคำโดยไม่เกิดความกำกวม และใช้ คำให้เกิดภาพพจน์ ในการนำคำที่เลือกแล้วมาเรียบเรียงเป็นประโยค เป็นข้อความ ถือเป็นศิลป์แห่งการใช้ คำ ที่มิใช่เพียงแต่สื่อความรู้ความเข้าใจเท่านั้น หากยังสามารถก่อให้เกิดภาพ เสียง และความรู้สึกได้อีกด้วย
  • คำและความหมายของคำ คำในภาษาไทยมีหลายลักษณะ เช่น คำเดี่ยว คำประสม คำสมาส คำสนธิ นอกจากนี้ยังมีหลายประเภท เช่น คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำสันธาน และคำบุพบท
     
  • คำบัญญัติ คือ การสร้างคำหรือกำหนดคำใหม่ขึ้นใช้ในภาษาไทย เนื่องจากความเจริญก้าวหน้า ทางวิชาการหรือประดิษฐกรรมใหม่ ทำให้เกิดคำศัพท์ที่มักใช้ในวงวิชาชีพ จึงมีความจำเป็นในการ ใช้ศัพท์บัญญัติเพื่อสื่อความเข้าใจให้ตรงกัน เช่น
    - การบัญญัติศัพท์โดยคิดคำไทยขึ้นใหม่ ได้แก่ adapt = ดัดแปลง change = เปลี่ยนแปลง
    - การบัญญัติศัพท์โดยการทับศัพท์ตามหลักการออกเสียงของเจ้าของภาษา ได้แก่ Computer = คอมพิวเตอร์ Al Queda = อัล กออิดะห์
    - หลักเกณฑ์การเขียนคำทับศัพท์ จะไม่ใส่วรรณยุกต์เพราะคำภาษาต่างประเทศ ถ้าถอดคำตาม ตัวอักษรจะไม่เหมือนการออกเสียง ได้แก่ FORD = ฟอร์ด OTOP = โอท็อป
     
  • ราชาศัพท์ คือ คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ต่อมาจึงใช้รวมถึงพระสงฆ์ ข้าราชการและสุภาพชน ราชาศัพท์ เป็นภาษาที่มีแบบแผนการใช้ นอกจากจะแปรไปตามระดับ ฐานะของบุคคลแล้วยังแปรไปตามประเภทของคำทางไวยากรณ์อีกด้วย การใช้ราชาศัพท์ยังมี ข้อยกเว้นอยู่มาก บางครั้งเป็นพระราชนิยมที่โปรดให้ใช้ในแต่ละยุคสมัย ราชาศัพท์ที่ใช้บ่อย ได้แก่
    - ทรง เช่น ทรงกราบ ทรงบาตร ทรงพระราชนิพนธ์ คำที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ใช้ ทรง นำหน้า
    - เป็น เช่น เป็นพระราชอาคันตุกะ คำนามราชาศัพท์ ไม่ต้องมี ทรง ซ้อนข้างหน้า ทรงเป็นประธาน คำนามสามัญ ต้องมี ทรง ซ้อนข้างหน้า
    - เสด็จ เช่น รับเสด็จ ส่งเสด็จ เป็นคำราชาศัพท์ หมายความว่า ท่าน เสด็จพระราชดำเนินไป เป็นคำกริยา ราชาศัพท์ หมายความว่า ไป
    - ถวาย เช่น ถวายพระพร ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เป็นคำกริยา หมายความว่า ให้ มอบให้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น