หลักการอ่านร้อยแก้ว

หลักการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
                การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว  หมายถึงอ่านคำที่เรียงร้อยเป็นข้อความตามภาษาพูดและใช้เสียงธรรมดาให้ถูกต้องชัดเจน  โดยการลั่นเสียง  และจังหวะเสียงให้เป็นไปตามความนิยม
                หลักเกณฑ์ทั่วไปในการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
๑.      ความถูกต้อง
๑.๑ อ่านได้ถูกต้องตามอักขระวิธี
๑.๒ อ่านได้ถูกต้องตามวรรคตอน
๑.๓ อ่านได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์
๒.    ลักษณะท่าทาง
๒.๑ ลักษณะการวางท่าทาง
 ๒.๒ ลักษณะการจับหนังสือ                                                                   
๓.    ความคล่องแคล่ว
๓.๑ อ่านไม่สะดุดหรือไม่ติดขัด
๓.๒ อ่านได้อย่างมั่นใจ  ชัดถ้อยชัดคำ
๔.    ความไพเราะ
๔.๑ ไม่อ่านเร็วหรือช้าเกินไป
๔.๒ ไม่อ่านเบาหรือดังเกินไป
๔.๓ เน้นเสียงหนักเบาได้อย่างเหมาะสม
๔.๔ ใส่อารมณ์ได้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
๔.๕ ตีสีหน้าให้เข้ากับเนื้อเรื่องที่อ่าน
  
ตัวอย่างการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
                ในที่สุด / เสียงทุกอย่างก็หมดไป / คงเหลือแต่เสียงลม / เสียงฝน / และเสียงกระแสน้ำกระทบผ่านต้นอ้อ / ต้นแขม / และรากลำพูที่ริมตลิ่ง / ธรรมชาติยังคงสำแดงอำนาจอันมหึมา / โดยปราศจากการรบกวนจากมนุษย์
                เช้าวันต่อมา / พระอาทิตย์ / ทอแสงอันแจ่มใสเมื่อรุ่งอรุณ / น้ำฝนติดอยู่ตามใบไม้ / กอหญ้า / ต้องแสงอาทิตย์เป็นประกาย / เมฆฝนที่ทะมึนอยู่เมื่อกลางคืน / คงเหลือในสภาพเหมือนปุยนุ่นเล็กๆ / ที่ถูกลมพัดปลิวไปติดขอบฟ้า / นกยางฝูงหนึ่ง / บินผ่านท้องน้ำ / ตรงคุ้งสำเภาไปอย่างเชื่องช้า / มุ่งหน้าไปหากันกลางทุ่ง / ธรรมชาติลืมโทสะ / ที่บังเกิดเมื่อตอนกลางคืนนั้นแล้วสิ้น / และเรื่มวันใหม่ด้วยอาการอันแจ่มใส / เหมือนกับเด็ก / ที่ยิ้มเบิกบานทั้งน้ำตา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น