การอ่าน

“ การอ่านทำคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์”

             คำกล่าวของ เซอร์ ฟรานซิส เบคอน นักปรัชญาเมธีชาวอังกฤษ แสดงให้เห็นว่า การอ่าน
เป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ เพราะมนุษย์จะไม่สามารถเป็นมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบหากปราศ
จากการอ่าน ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของทักษะทางภาษาที่จำเป็นต้องฝึกฝนอยู่สม่ำเสมอ
และสามารถฝึกฝนได้เรื่อย ๆ ตามวัย และประสบการณ์ไม่มีวันสิ้นสุด เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้มนุษย
์ได้รับความคิด ความรู้และความบันเทิง มีผลต่อชีวิตและจิตใจของมนุษย์ให้เจริญยิ่งขึ้น

ความหมายของการอ่าน
             
               การอ่าน คือ การรับรู้ข้อความในการเขียนของตนเองหรือของผู้อื่น รวมถึงการการรับรู้ความหมายจากเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สัญลักษณ์จราจร
เครื่องหมายที่แสดงบนแผนที่ เป็นต้น
               การรับรู้ข้อความ เข้าใจเรื่องราว หรือได้รับรสความบันเทิงใจตรงตามจุดประสงค ์ของผู้เขียนเป็นการอ่านที่ดีและได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

ความสำคัญของการอ่าน

              ชีวิตของแต่ละคนย่อมต้องเกี่ยวข้องผูกพันกับสังคม คือ กลุ่มคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่มีใครที่จะอยู่ได้โดยปราศจากสังคมและการอยู่ร่วมกับคนอื่น ซึ่งจะต้องมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน
มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความสนใจ เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุขและพัฒนาไปข้าง
หน้าอย่างแท้จริง ดังนั้นการติดต่อสื่อสารจึงเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงมนุษย์ทุกคน
เข้าด้วยกัน สามารถทำทั้งการพบปะสื่อสารกันด้วยการสนทนาและอ่านข้อเขียนของกันและกัน สำหรับสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมใหญ่ที่เจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การติดต่อกันโดยวิธีพบปะสนทนาย่อมเป็นไปได้ในวงจำกัด ดังนั้นการสื่อสารกันโดยการอ่านจึงม
ีความสำคัญมาก นอกจากนั้นผู้อ่านจำนวนมากยังต้องการอ่านเพื่อแสวงหาความรู้และความบันเทิง
จากหนังสืออีกด้วย

จุดมุ่งหมายของการอ่าน
       
๑. การอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า
           
               คือ ต้องการได้รับความรู้จากเนื้อเรื่องที่อ่าน เช่น การอ่านหนังสือประเภทตำรา สารคดี หรือหนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนและนักศึกษา เพื่อรู้และเข้าใจเรื่องราวตามหลักสูตร
และอ่านวารสาร หนังสือพิมพ์ และข้อความต่าง ๆ เพื่อให้ทราบเรื่องราวอันเป็นข้อความรู้ หรือเหตุการณ ์บ้านเมือง บ้านเมือง ผู้ประกอบอาชีพต่างๆก็ต้องอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในสาขาอาชีพของตน
หรือเพื่อทำความเข้าใจวิทยาการใหม่ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าแม้แต่ในหนังสือประเภทบันเทิงคดีสำหรับบุคคลทั่วไป ก็ยังให้ความรู้ควบคู่ไปกับความบันเทิง เพราะบุคคลทั่วไปอ่านหนังสือต่างๆ เพื่อขยายความรู้ ความสนใจ
ให้กว้างขวาง 

๒. การอ่านเพื่อความบันเทิง
             
                บุคคลบางประเภทมีความชอบที่จะอ่านเพื่อความบันเทิงมากกว่าอ่านเพื่อความรู้ เนื่องจากว่า ความบันเทิงเป็นอาหารทางใจซึ่งมีความจำเป็นต่อชีวิตของมนุษย์เช่นเดียวกันกับอาหารและอากาศ จึงมักจะเลือกอ่านแต่หนังสือที่ส่งเสริมสุขภาพจิตให้แจ่มใส มีความสุข คนไทยเรานั้นใช้การอ่านเป็นเครื่องให้ความบันเทิงใจมาเป็นเวลาติดต่อกันนานหลายปีแล้ว เห็นได้จากนิทานร้อยแก้วและนิทานคำกลอนสำหรับอ่าน กลอนเพลงยาว นิราศ ตลอดจนวรรณกรรมอื่นๆที่ถูกแต่งขึ้นอย่างมากมายและหลากหลายในสมัยก่อน ล้วนแต่มีส่วนให้ความบันเทิงใจแก่ผู้อ่านทั้งสิ้น จวบจนปัจจุบันนี้ก็มียัง นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี การ์ตูนมีภาพประกอบต่างๆ มากมายเพื่อสร้างรอยยิ้มความสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับผู้อ่านโดยวิธีการอ่านง่ายๆและสามารถทำ
ได้หลายโอกาส เช่น ระหว่างที่คอยบุคคลที่นัดหมาย คอยเวลารถไฟออก เป็นต้น หรืออ่านหนังสือประเภทบันเทิงคดีในเวลาว่าง


๓. การอ่านเพื่อความคิดหรือเพื่อสนองความต้องการอื่นๆ
                 
                 นอกจากความต้องการในการหาความรู้และความบันเทิงแล้ว คนบางคนยังแสวงหา
คำตอบอื่นๆให้กับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นแนวความคิดทางปรัชญา วัฒนธรรม จริยธรรม และความ
คิดเห็นทั่วไป ที่จะมักแทรกอยู่ในหนังสือแทบทุกประเภท การศึกษาแนวคิดของผู้อื่น เพื่อเป็นแนวทางความคิดของตนเองและอาจนำมาเป็นแนวปฏิบัติใน
การดำเนินชีวิต
หรือแก้ปัญหาต่าง ๆ หรืออ่านเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ กล่าวคือการอ่านหนังสือมากๆ  จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี รู้จักการวางตัวที่เหมาะสม มีความคิดกว้างขวาง
ทันสมัย สามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง โดยอาจเรียนรู้จากเรื่องราวในหนังสือท ี่
เป็นคติสอนใจหรือเป็นอุทาหรณ์

ที่มา;http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/thai04/07/reading.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น