วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การแยกแยะ


  ปัญหาใหญ่ของผู้ศึกษาและปฏิบัติในแนวทาง"ปฏิจจสมุปบาท"แล้ว คือระลึกรู้ไม่เท่าทันเวทนา  ก็เนื่องจากแยกแยะเวทนา หรือจิตอันหมายถึงจิตสังขารไม่แจ่มแจ้งไม่ชัดเจน  ทั้งสองต่างถือเป็นหัวใจในการใช้ปฏิจจสมุปบาทในการปฏิบัติ  รวมทั้งสติปัฏฐาน ๔   มักมองเห็นแต่ จิตสังขารหรือความคิด อันเป็นผลแล้ว  หรืออาจ"เป็นผลที่ตัณหาได้กระทำลงไปแล้ว คือเป็นอุปาทานสังขารขันธ์ คือจิตสังขารที่ประกอบด้วยอุปาทาน อันเป็นอุปาทานทุกข์"   ทั้งๆที่รู้ว่าเพราะ "เวทนา เป็นเหตุปัจจัย จึงมี ตัณหา" แต่เพราะการที่ไม่"โยนิโสมนสิการ"  จึงแยกแยะเวทนากับจิตสังขารหรือความคิด(สังขารขันธ์)  ซึ่งเป็นคนละขันธ์คนละกองกันไม่ออก กล่าวคือ เวทนาขันธ์และสังขารขันธ์   จึงมองไม่เห็นว่าเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาโดยตรง ไม่ใช่จิตสังขารหรือความคิดที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาโดยตรง   ซึ่งเป็นการแยกแยะโดยปัญญาหรือความเข้าใจ(ไม่ใช่การไปเห็นหรือรู้สภาพจิตกำลังทำงานเป็นขั้นๆเป็นตอนๆทุกขณะจิตในชีวิตประจำวัน) เมื่อไม่เข้าใจจึงทำให้มองเห็นเวทนาและสังขารขันธ์คิด คลุกเคล้ากลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันหรือสิ่งเดียวกันไป ทำให้การปฏิบัติสับสนไม่ก้าวหน้าเพราะปฏิบัติไม่ถูกเป้าหมาย อันคือ “ธรรมใดเกิดแต่เหตุ   เหตุดับธรรมนั้นก็ดับ
     พิจารณาในกระบวนธรรมแบบขันธ์ ๕  โดยนำไปพิจารณาเกี่ยวกับวงจรปฏิจจสมุปบาท  ที่เกิดขึ้นที่สฬายตนะ  และ สังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท)  อย่างย่อ
    รูป  ตา  วิญญาณ ผัสสะ เวทนา   สัญญา  สังขารขันธ์ - กระทำทางกาย,วาจา,ใจคิดนึก
    นี้คือขันธ์ ๕ อันเกิดแต่สฬายตนะ(ตา)  รูป(รูปในอายตนะภายนอก)เป็นเหตุจึงมีเวทนา และเวทนาเป็นเหตุปัจจัยจึงมีผลเป็นสังขารขันธ์ เช่น คิดขึ้น
    สังขาร(คิดหรือธรรมมารมณ์)  ใจ  วิญญาณ ผัสสะ เวทนา  สัญญา  สังขารขันธ์ - กระทำทางกาย,วาจา,ใจคิดนึก<
     นี้คือขันธ์ ๕ อันเกิดแต่สฬายตนะ(ใจ) และ สังขารที่สั่งสมอบรมไว้(ในวงจรปฏิจจสมุปบาท) คือ คิดนึกจากทุกข์เก่าๆอันเนื่องมาจากอาสวะกิเลส(อันเป็นเช่นธรรมารมณ์หรือคิดในอายตนะภายนอกเช่นกัน) ทำหน้าที่เป็นเหตุจึงมีเวทนา,  และเวทนาเป็นเหตุจึงมีสังขารคิด แต่เป็นคิดอย่างเป็นฝ่ายผลเช่นกันกับขบวนการแรก
        จากขันธ์ ๕ ทั้ง ๒ แบบนี้  จักแยกให้เห็นได้ชัดเจนว่า เพราะเวทนา เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดสังขารขันธ์อันคือความคิดต่างๆได้
        ถ้าเราหยุดหรือผ่ากระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ออกเป็น  ๒ ส่วน ตรงตำแหน่งเวทนาที่เกิดขึ้น,   แล้วขณะเกิดเวทนาขึ้นนั้น  แทนที่จะดําเนินต่อไปตามกระบวนธรรมของชีวิตตามปกติหรือขันธ์ ๕   เวทนานั้นกลับไปเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้นมาเสียก่อน  กระบวนธรรมของจิตจึงแปรเป็นไปดังนี้.........
เกิดตัณหา  อุปาทานจึงเกิดขึ้น  และเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ  และเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ  อันคือการเริ่มเกิดของกองทุกข์
จึงเป็นไปดังนี้
รูป  ตา  วิญญาณ ผัสสะ เวทนา  ตัณหา  อุปาทาน  ภพ  ชาติ
แล้วขันธ์ ๕ ก็ดำเนินต่อไปเพื่อให้จบกระบวนธรรม  แต่ขันธ์ที่เกิดต่อไปนั้น มีการแปรปรวนไปกล่าวคือย่อมประกอบด้วยอุปาทาน  ดังตัวอย่างนี้
รูป  ตา  วิญญาณ ผัสสะ เวทนา  ตัณหา  อุปาทาน  ภพ  ชาติอันคืออุปาทานสัญญา  อุปาทานสังขารขันธ์
        นี้คือขันธ์ ๕ อันเริ่มต้นเป็นอุปาทานทุกข์จริงๆ อันมีเวทนาเป็นเหตุปัจจัยโดยตรงให้เกิดต้นขบวนของทุกข์อันคือตัณหา อันยังให้เกิดอุปาทานตามมา  (รูป ตา วิญญาณ ก็เป็นเหตุแต่แก้ไขไม่ได้ เป็นสภาวธรรม ต่างก็ทําหน้าที่แห่งตน)
        เวทนา คือการเสวยอารมณ์ นั้นเป็น"เพียงความรู้สึกในการรับรู้" ตามธรรมชาติ และเป็นเพียงการรับรู้ *ความรู้สึกที่ถูกใจ ไม่ถูกใจ หรือเฉยๆที่มีต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์(คิด)ที่กระทบ (รูป เสียง....อายตนะภายนอกทำหน้าที่เป็นอารมณ์คือสิ่งที่จิตยึดเหนี่ยว)ดังตัวอย่างเวทนาต่างๆ   ณ ที่นี้เราเพิ่มสัญญาความจำเพื่อขยายรายละเอียดขันธ์ ๕ เพิ่มขึ้นเข้าไปด้วยเพื่อให้เห็นรายละเอียดในการเกิดของเวทนาได้แจ่มแจ้งขึ้น
รูป  ตา  วิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำ  เวทนา รับรู้อารมณ์รูป หรือ ความรู้สึก ที่รับรู้รูปที่มากระทบ
เสียง  หู  วิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำ  เวทนา รับรู้อารมณ์เสียง, ความรู้สึก ที่รับรู้เสียงที่มากระทบ
กลิ่น  จมูก  วิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำ  เวทนา รับรู้อารมณ์กลิ่น, ความรู้สึก ที่รับรู้กลิ่นที่มากระทบ
รส  ลิ้น  วิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำ  เวทนา รับรู้อารมณ์รสชาด, ความรู้สึก ที่รับรู้รสที่มากระทบ
โผฏฐัพพะ(สัมผัส)  กาย  วิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำ  เวทนา รับรู้อารมณ์สัมผัส, ความรู้สึก ที่รับรู้สัมผัสที่มากระทบ
คิด  ใจ  วิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำ  เวทนา รับรู้อารมณ์คิด, ความรู้สึก ที่รับรู้ความคิดที่มากระทบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น