วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การพูด


    การพูด  มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก  ไม่ว่าจะอยู่  ณ  ที่ใด    ประกอบกิจการงานใด  หรือคบหาสมาคมกับผู้ใด  ก็ต้องสื่อสารด้วยการพูดเสมอ  จึงมักพบว่า  ผู้ที่ประสบความสำเร็จในกิจธุระการงาน   การคบหาสมาคมกับผู้อื่น  ตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม    ล้วนแต่เป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้นส่วนหนึ่งของการพูดสามารถสอนและฝึกได้  อาจกล่าวได้ว่า  การพูดเป็น   " ศาสตร ์"  มีหลักการ และกฎเกณฑ์เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะ ถึงขั้นเป็นที่พอใจอีกส่วนหนึ่งเป็นความสารถพิเศษหรือศิลปะเฉพาะตัวของผู้พูดแต่ละบุคคล  บางคนมีความสามารถที่จะตรึงผู้ฟังให้นิ่งอยู่กับที่จิตใจจดจ่ออยู่กับการฟังเรื่องที่พูด  ผู้พูดบางคนสามารถพูดให้คนฟังหัวเราะได้ตลอดเวลา  ศิลปะเฉพาะตัวนี้
            เป็นสิ่งที่ลอกเลียนกันได้ยาก  แต่อาจพัฒนาขึ้นได้ในแต่ละบุคคล  ซึ่งการพูดที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการสังเกตวิธีการที่ดีและมีโอกาสฝึกฝน
                                ประเภทของการพูด   แบ่งได้  2  ประเภท  คือ
                        1.  การพูดระหว่างบุคคล  ได้แก่
    •     การทักทายปราศัย  ลักษณะการทักทายปราศัยที่ดีดังนี้
      • หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส  แสดงอาการยินดีที่ได้พบผู้ที่เราทักทาย
      • กล่าวคำปฏิสันถารที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม  เช่น สวัสดีครับ  สวัสดีค่ะ
      • แสดงกิริยาอาการประกอบคำปฏิสันถาร
      • ข้อความที่ใช้ประกอบการทักทายควรเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความสบายใจ
    •  การแนะนำตนเอง  การแนะนำเป็นสิ่งจำเป็น และมีความในการดำเนินชีวิตประจำวัน  บุคคลอาจแนะนำตนเองในหลายโอกาสด้วยกัน การแนะนำตนเองมีหลักปฏิบัติดังนี้คือ  ต้องบอกชื่อ   นามสกุล  บอกรายละเอียดกับตัวเรา และบอกวัตถุประสงค์ในการแนะนำตัว
    •  การสนทนา   หมายถึง  การพูดคุยกัน  พูดจาเพื่อนสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  และประสบการณ์   การรับสารที่ง่ายที่สุ  ด    คือ  การสนทนา    
      •  คุณสมบัติของการสนทนาที่ดี  คือ
        • หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
        • ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ง่าย  ๆ  สุภาพ  คำพูดและน้ำเสียงน่าฟัง เป็นกันเองกับคู่สนทนา                                                     
                       2. การพูดในกลุ่ม                                              การพูดในกลุ่มเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน  ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษาเป็นเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้ซักถาม  แสดงความคิดเห็น  หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาเล่าให้ฟังกัน  มีวิธีการดังต่อไปนี้
    •  เล่าถึงเนื้อหาและประเด็นประเด็นสำคัญ ๆ  ว่ามีอะไรบ้าง
    • ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาที่ง่าย
    • น้ำเสียงชัดเจนน่าฟัง  เน้นเสียงในตอนที่สำคัญ   
    • ใช้กิริยาท่าทางประกอบการเล่าเรื่องตามความเหมาะสม
    • ผู้เล่าเรื่อควรจำเรื่องไดเป็นอย่างดี
    • มีการสรุปข้อคิดในตอนท้าย                     http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/pechburi/marina_wisan/work3.html

การดู

1. การค้นพบจิต
หงายมือทั้ง 2 ข้าง วางบนหัวเข่า
สูดลมหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ ผ่อนลมหายใจออกเบาๆ ลงไปตรงกลางทรวงอก บริเวณลิ้นปี่
นิ่ง.. และสังเกตสักครู่หนึ่ง  จะมีความรู้สึกเหมือนชีพจรเต้นอยู่ ตึ้บๆ วึ้บๆ (เกิด-ดับ) บางครั้ง รู้สึกแน่นๆ เหมือนเหนื่อยๆ หรือ รู้สึกว่างๆ อยู่ภายใน ก็ให้สังเกตความรู้สึกไว้ตรงนี้ด้วยอาการที่ผ่อนคลาย

2. เรียนรู้การรับ-ส่งกระแสเพื่อแผ่เมตตา

รับ-ส่งกระแส
... ให้ส่งกระแสซึ่งกันและกัน โดย     ฝ่ายรับยกมือค้างไว้ ฝ่ายส่งขยับมือ เข้า-ออกส่งกระแสเข้าไป แล้วให้ผู้รับ บอกความรู้สึกของกระแสที่รับได้ จากนั้นผู้รับเปลี่ยนเป็นผู้ส่ง แล้วให้ บอกความรู้สึกซึ่งกันและกัน
 

เปลี่ยนรูปแบบการส่ง..
โดยฝ่ายรับหงายฝ่ามือขึ้น ไม่ต้อง เคลื่อนไหว ฝ่ายส่งคว่ำมือลง ผู้ส่ง น้อมส่งกระแสเมตตา พูดเข้าไปที่ จิตว่า ให้มีความสุข  แล้วน้อมกระแส ไปที่มือทั้ง 2 ข้าง นิ่งสักครู่เพื่อสังเกต ความรู้สึกที่ส่งไป แล้วบอกความรู้สึก ซึ่งกันและกัน เช่น สบาย สงบ .. จากนั้นขยับมือขึ้น-ลงช้าๆ จะมีความรู้สึกเช่น อุ่นๆ ร้อนๆ เหมือนแรงดึงดูด หนักๆเวลาขยับมือเข้าใกล้ เบาๆ เมื่อยกมือ ออกห่างฯลฯ ฝ่ายรับเปลี่ยนเป็นฝ่ายส่ง ให้ส่งกระแสซึ่งกันและกัน 
       
... ให้สังเกตว่า ดูข้างนอก..เห็นมือเคลื่อน แต่ สิ่งที่รับได้ คือกระแสคลื่นความรู้สึก ไม่มีผู้ชายหรือผู้หญิงในความรู้สึกนั้น เป็นอนัตตา ว่างเปล่า ปราศจากตัวตน แต่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ดังนั้นการรับส่งกระแส นอกจากจะได้เรียนรู้กระแสพลังแห่งเมตตา ก็จะได้มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริงด้วย   
3.กระแสที่เรียนรู้ .. สูการแผ่เมตตา
การแผ่เมตตาอย่างสั้นๆ.. จากจิต นึกถึงใคร
แผ่เมตตาไป "ให้มีความสุข"
การแผ่เมตตาไม่มีประมาณ
จากจิต น้อมบุญกุศลที่เราได้ทำแล้วในบัดนี้  แผ่ไปให้พ่อ-แม่ ครูบาอาจารย์  ญาติสนิท มิตรที่รัก  แผ่เมตตาให้ในหลวงของพวกเรา สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ บรรพบุรุษที่รักษาผืนแผ่นดินนี้ไว้  ผู้มีพระคุณทุกท่าน เทวดาทั้งสิบทิศ  เจ้ากรรมนายเวร  สัตว์นรก  เปรต  อสูรกาย  สรรพสัตว์ทั้งหลายอันไม่มีประมาณ  ให้ร่วมอนุโมทนาสาธุการ...
ท่านที่มีทุกข์  ขอให้พ้นทุกข์  สุขอยู่แล้ว  ขอให้สุขยิ่งขึ้น...
 จากจิต.. แผ่พลังความรัก ความปรารถนาดีออกไปรอบๆสถานที่  รอบๆจังหวัด  รอบๆประเทศ  ออกไปทั่วโลก  จักรวาลอันกว้างใหญ่  แผ่ไปไม่มีประมาณ  กว้างขวาง ไร้ขอบเขต  " ให้ทุกท่านมีความสุข"  นิ่งสักครู่หนึ่ง...
 เมื่อต้องการออกจากการแผ่เมตตา  อย่ารีบลืมตา ให้ตั้งจิตภายในว่า "กลับ"  แล้วสูดลมหายใจเข้าช้าๆ ผ่อนความรู้สึกลงมาที่จิต ... ที่มือ... ลงมาที่ขา สัก 2-3 ครั้ง แล้วค่อยๆลืมตา

4. ดวงจิตผ่องใส ได้ตลอดทั้งวัน
  ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ทุกการเคลื่อนไหว ให้สังเกตความรู้สึกที่จิต เห็นการเกิด-ดับภายในไปตลอดเวลา  ศีล-สมาธิ-ปัญญา  จึงเดินไปพร้อมกัน

5. ทางสายกลาง..ทางดับทุกข์
จิต..ดำเนินอยู่บนทางสายกลาง เห็นทุกข์ และดับทุกข์ได้ เพราะมีปัญญาเห็นความจริงว่า .. ทุกข์ที่เกิดขึ้น มีความดับไปเป็น ธรรมดา จิตกับความคิดแยกจากกัน จิตจึงผ่องใส เป็นอิสระจาก ความคิดดีและไม่ดี ความคิดไม่ดี ละทิ้งไป ความคิดดีนำมาใช้ แต่ไม่ยึดมั่นว่าความคิดทั้งหลายเป็นเราเป็นของเรา จิตจึงหลุด พ้นจากความทุกข์ พบความสุขที่แท้จริงตลอดไป

การเขียนอธิบาย


การเขียนอธิบาย
การเขียนอธิบาย
 คือ การเขียนเพื่ออธิบายความหมายให้กระจ่าง หรือขยายความให้มีรายละเอียดชัดเจนขึ้น หรือชี้เเจง หรือชี้เเจงสิ่งต่างๆ ให้เเจ่มเเจ้งขึ้น งานเขียนที่มีลักษณะเป็นการอธิบายนี้ ผู้เขียนสามารถนำถ้อยคำมาเรียบเรียงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสละสลวย เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ

๑.  เเนวทางในการเขียนอธิบาย มีดังนี้
๑.๑ การเขียนอธิบายจากการสังเกตสิ่งเเวดล้อมในธรรมชาติ
      จำเป็นต้องฝึกตนเองให้เป็นคนช่างสังเกต จดจำข้อมูลให้แม่นยำต้องมีวิธีเขียนเป็นไปตามลำดับ ไม่สับสน รู้จักใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมด้วยจึงจะทำให้งานเขียนชวนให้ผู้อื่นติดตาม
       สิ่งเเวดล้อมในธรรมชาติที่น่าสนใจมีอยู่มากมาย ถ้าจะเขียนอธิบายสิ่งเหล่านั้นต้องสังเกตดูว่า อะไรเป็นลักษณะเด่นของสิ่งต่างๆ แล้วเลือกกล่าวถึงลักษณะสำคัญที่เห็นได้ชัดเจนมาประมวลให้ครบถ้วน

ตัวอย่าง การเขียนอธิบายสิ่งเเวดล้อมในธรรมชาติ
        นกภูหงอนหัวน้ำตาลเเดง เป็นนกที่มีขนาดเล็กมาก (๑๔ ซม.) หงอนขนบนหัวมีขนาดสั้น ลำตัวผอมบาง ด้านบนลำตัวมีขีดลายสีขาว ขนบริเวณหูสีน้ำตาลแดงมีลายขัดสีขาว ขนปลายหางสีขาว และด้านล่างลำตัวสีขาว
        ในประเทศไทยพบในภาคเหนือ เช่น ที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และในภาคกลาง เช่น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เป็นต้น
                                                                                                                                                                                 วัชระ สงวนสมบัติ
๑.๒ การเขียนอธิบายจากการสังเกตพฤติกรรมของบุคคล
       เป็นการเขียนอธิบายถึงความคิดที่สัมพันธ์กับการกระทำ ตลอดจนวิธีทำสิ่งต่างๆ 
ตัวอย่าง การเขียนอธิบายถึงความคิดที่สัมพันธ์กับการกระทำ
                                                                ข้าวหน้าไก่นึ่งกุนเชียงเห็ดหอม
       \"เข้าครัวกับหมึกแดง\"
       นำกะทะตั้งไฟใส่น้ำมันพอร้อนใส่ต้นหอมซอย กระเทียมสับผัดจนหอม นำไก่ กุนเชียง และเห็ดหอม นำถ้วยผสมน้ำซุปไก่ น้ำเห็ดหอม ซีอิ๋วดำ ซีอิ๋วหอย น้ำมนงา พริกไทยขาว เทลงในถ้วยข้าว แล้วนำไปนึ่งจนกระทั่งสุก พอสุกนำถ้วยคว่ำลงเอาส่วนที่มีไก่ กุนเชียง เห็ดหอมไว้ข้างบน แต่งหน้าด้วยผักชี ทานกับเเตงกวา พริกชี้ฟ้าเขียวหั่น และต้นหอม
                                                                                                                                                                 หมึกแดง
                                                                                                                                 เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
๑.๓  การเขียนอธิบายเหตุผล
       การเขียนอธิบายเหตุผล จะพบในงานเขียนรูปแบบต่างๆ กัน เช่น เรียงความ บทความ คำปราศัย โอวาท สุนทรพจน์ คำไว้อาลัย คำกล่าวสดุดี ฯลฯ
ตัวอย่าง การเขียนอธิบายเหตุผล
                                                                                คนฉลาด
       เมื่อเราหาเงินหาทองได้ เราก็ควรใช้ให้มันเป็นประโยชน์ ใช้สำหรับตนบ้าง กินอยู่ เครื่องนุ่งห่ม จัดบ้านจัดเรือนตามสมควรแก่ฐานะ เหลือจากนั้นเราก็แบ่งสรรปันส่วนบำเพ็ญสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ ช่วยสร้างสิ่งที่ควรสร้าง เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล สถานสงเคราะห์คนชรา เป็นต้น
       เราอยู่สบาย มีทรัพย์สินเงินทองจับจ่ายใช้สอย เราก็นึกถึงความลำบากของคนเหล่านั้นบ้าง โดยช่วยอนุเคราะห์เกื้อกูลเขาตามฐานะ หรือว่าเรามีปัญญา มีสมอง มีเงินทอง เเทนที่จะนั่งให้เขากู้ท่าเดียว เราก็เอาไปหมุนสร้างโรงงานประเภทต่างๆ ก็เท่ากับสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์เหมือนกัน เพราะคนที่ยากจนจะได้เข้าไปอาศัยเป็นกรรมกรรับใช้ในโรงงาน ทำให้การเงินหมุนเวียน คนเหล่านั้นได้กินได้ใช้อยู่ เราก็นอนสบายเพราะว่าทุกคนมีงานทำกันทั่วถึง โจรผู้ร้ายก็ลดน้อยลงไป เราไม่ต้องหวาดระเเวง กลางคืนก็นอนเป็นสุข หลับเป็นสุขอย่างนี้เป็นการสงเคราะห์ทั้งเขาทั้งเรา รู้จักใช้สิ่งที่เรามีให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ คนเหล่านี้ เราเรียกว่า เป็นคนฉลาดใช้เงินเป็น
                                                                                                                                              พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)

๒.  มรรยาทในการเขียนอธิบาย
      การเขียนที่สัมฤทธิ์ผลนั้น คือ การเขียนที่ผู้อ่านเข้าใจตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ การให้เกิดความประทับใจในข้อเขียนนั้นๆ การเขียนจึงต้องอาศัยการฝึกฝนและแบบอย่างในการเขียน ผู้เขียนจึงต้องรู้ลักษณะของเรื่องที่จะเขียน รู้จักผู้อ่านและจุดมุ่งหมายของการเขียน ดังนั้นผู้เขียนควรตระหนักในข้อคิดที่ใส่ลงในงานเขียน
      
      มารยาทในการเขียน มีข้อปฏิบัติ ดังนี้
๒.๑  เขียนให้ถูกต้องตามอักขรวิธี โดยใช้สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ให้ถูกต้อง การแบ่งวรรคตอนควรระมัดระวังให้มาก เพราะถ้าเว้นวรรคผิด อาจทำให้ผิดความหมาย
๒.๒  การนำข้อความของผู้อื่นมาเขียน ต้องให้เกียรติเจ้าของของข้อความนั้น โดยอ้างอิงแหล่งที่มา ลแส่เครื่องหมายอัญประกาศคลุมข้อความที่ยกมาอ้าง เช่น
      \"(ข้อความ)\" จากหนังสือ \"(ชื่อหนังสือ)\" ของ \"(ชื่อผู้เเต่ง)\"
๒.๓  ข้อเขียนนั้นต้องไม่ทำความเดือดร้อน รำคาญใจ และเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เช่น เขียนชื่อ-นามสกุล ยศ ตำแหน่ง ไม่ถูกต้อง ใช้ภาษาที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือมีความหมายถึงสิ่งไม่ดีไม่งาม
๒.๔  ไม่เขียนข้อความพาดพิงให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงซึ่งอาจถูกฟ้อง เรียกค่าเสียหายในข้อหาหมิ่นประมาท ไม่ควรใช้อารมณ์ของตนเองในการเขียนวิจารณ์ผู้อื่นโดยปราศจากเหตุผล และข้อเท็จจริง
๒.๕  เขียนสิ่งที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่ววนรวม ทั้งด้านความรู้ ความบันเทิง เพื่อให้เกิดความสามัคคี และความสงบสุขแก่สังคม และประเทศชาติ

การเขียนอธิบายเป็นวิธีการเขียนชี้เเจงความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ให้เข้าใจได้ชัดเจน ดังนั้นการเขียนอธิบายที่ดีย่อมทำให้สามารถเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น จึงควรพยายามเขียนอธิบายให้ดี  โดยการหมั่นเขียนและอ่านข้อความที่เป็นการอธิบาย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน และควรตระหนักถึงมารยาทในการเขียน เพราะจะช่วยส่งเสริมให้งานเขียนนั้นมีคุณค่า

การกรอกแบบรายการ


 ๓. ความสำคัญของการกรอกแบบรายการ การกรอกแบบรายการมีความสำคัญมาก
เพราะแบบรายการใช้เป็นหลักฐานเอกสารได้ แบบรายการที่กรอกแล้วมีผลผูกพันทาง
กฎหมาย ซึ่งผู้กรอกจะต้องรับผิดชอบแบบรายการบางอย่าง เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญา
ค้ำประกัน ฯลฯ อาจมีผลผูกพันต่อทรัพย์สินเงินทองจานวนมาก
ข้อควรระวัง ในกรณีที่แบบราชการต้องลงลายมือชื่อ ห้ามลงนามในแบบรายการที่ยัง
เขียนหรือพิมพ์ข้อความไม่ครบถ้วน หรือมีข้อความทียังไม่เข้าใจชัดเจนเด็ดขาด ไม่ว่าในเรื่องใด
๔. ข้อแนะนำในการกรอกแบบรายการ การกรอกแบบรายการควรระมัดระวัง
เรื่อง ต่อไปนี้
๔ ๑ กรอกด้วยความเข้าใจ ก่อนจะกรอกต้องอ่านข้อความให้ถี่ถ้วน และควร
สอบถาม ถ้ามีข้อความที่ยังไม่เข้าใจ
๔ ๒ กรอกข้อความที่เป็นจริง ไม่กรอกข้อความที่เป็นเท็จ เพราะอาจมีผลเสียหาย
ต่อตัวผู้กรอกในภายหลัง
๔ ๓ กรอกให้ครบถ้วน ช่องว่างที่ไม่ได้กรอกข้อความต้องขีดเส้นให้เต็มช่อง
ไม่เว้นที่ว่างไว้เพราะอาจมีผู้มากรอกข้อความเพิ่มเติมในภายหลังได้
๔ ๔ กรอกข้อความด้วยตนเอง ไม่ควรให้ผู้อื่นกรอกแบบรายการแทน ยกเว้นใน
กรณีที่จำเป็นอย่างยิ่ง เช่น ไม่อยู่ในสภาพที่จะเขียนหนังสือได้ ถ้าให้ผู้อื่นกรอกข้อความใน
แบบราชการต้องอ่านข้อความนั้นก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าถูกต้อง
๔ ๕ ตรวจทานทุกครั้งเมื่อกรอกแบบรายการหรือลงนามในเอกสาร


การตีความ


 การตีความกฎหมาย คือการตี "ถ้อยคำ" ของกฎหมายให้ได้เป็นข้อความที่จะนำไปใช้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท การตีความไม่ใช่แปลความ การแปลเป็นการกระทำตรงไปตรงมาไม่ต้องขบคิดค้นหาอะไรมาก ความในภาษาหนึ่งเป็นอย่างไร แปลไปสู่อีกภาษาหนึ่งให้ตรงกันก็ใช้ได้ แต่การตีความเป็นการขบคิดค้นหาจากคำตอบทางกฎหมายอย่างใช้เหตุใช้ผล ไม่ใช่การทายหรือเดาสุ่มทำนองการตีปริศนาหรือการทายปริศนา และไม่ใช่เป็นการแปลความด้วย
          โดยสรุปการตีความมีความหมายว่า การคิดค้นหาจากบทบัญญัติของกฎหมายโดยวิธีใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยา และสามัญสำนึกเพื่อให้ได้มาซึ่ง "ข้อความ" ของกฎหมายที่จะนำไปใช้วินิจฉัยคดีข้อพิพาทได้อย่างถูกต้อง คือเหมาะเจาะเหมาะสมและเป็นธรรม 
     
 1. ในกรณีในที่ต้องมีการตีความ  
          เรื่องนี้มีความเห็นของนักนิติศาสตร์แตกต่างกันอยู่ 2 ฝ่าย กล่าวคือ
          ฝ่ายแรก เห็นว่า ในกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายมีความหมายชัดเจนแน่นอนอยู่แล้วก็ไม่ต้องตีความกฎหมายนั้น การตีความกฎหมายจะเกิดมีขึ้นก็เฉพาะในกรณีบทบัญญัติของกฎหมายมีข้อเคลือบแคลงสงสัยเท่านั้น
          ฝ่ายสอง เห็นว่า การตีความกฎหมายนั้นไม่จำกัดเฉพาะในกรณีถ้อยคำในกฎหมายไม่ชัดเจนเท่านั้น แม้ในกรณีที่ถ้อยคำในกฎหมายชัดเจนดีอยู่แล้วก็ต้องมีการตีความกฎหมาย เพราะความเป็นจริงถ้อยคำแต่ละถ้อยคำที่ประกอบเป็นข้อความนั้นไม่มีความหมายที่ชัดแจ้งในตัวของมันเอง ความหมายของมันจะชัดเจนขึ้น เมื่อเราอ่านรวมกับถ้อยคำอื่นที่เป็นข้อความแวดล้อมและที่รวมกันเข้าก็ประกอบเป็นข้อความทั้งหมดของเรื่องนั้น โดยสรุปก็คือต้องพิจารณาถึงถ้อยคำตัวอักษรที่ชัดเจนนั้นประกอบกับเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นพร้อมกันไป เพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงหรือเหตุผลที่แท้จริงของกฎหมาย 
     
 2. เหตุที่ต้องมีการตีความกฎหมาย 
 
          การที่ต้องมีการตีความกฎมายก็เพราะว่าฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าที่เกิดขึ้ในภายหน้าได้ทุกกรณี จึงไม่สามารถบัญญัติกฎหมายให้ครอบคลุมทุกกรณี นอกจากนั้นฝ่ายนิติบัญญติอาจมีความผิดพลาดในเรื่องการตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับได้ เช่นบัญญัติกฎหมายไวเคลือบคลุมหรือขัดแย้งกันเอง เช่นนี้ในการใช้กฎหมายจึงต้องมีการตีความกฎหมาย 
     
 3. การตีความกฎหมายทั่วไป 
 
          การตีความกำมหายต้องพิเคราะห์ตัวอักษรให้ได้ความหมายของตัวอักษร และการจะรู้ความหมายของตัวอักษรได้ต้องพิเคราะห์เหตุผลหรือความมุ่งหมายของกฎหมายประกอบดัวย กรตีความกฎหมายจึงต้องพิจารณาประกอบกันไป 2 ด้าน คือ พิเคราะห์ตัวอักษร และพิเคราะห์ความมุ่งหมายของกฎหมาย (เจตนารมณ์ของกฎหมาย) ไปด้วยกัน โดยสรุปในการตีความนั้นต้องใช้ทั้งตีความตามตัวอักษรประกอบกับการตีความตามเจตนารมณ์
แต่เพื่อประโยชน์ในการศึกษาจะขอแยกพิจารณาการตีความกฎหมายโดยทั่วไป เป็น 2 กรณี คือ
1. การตีความตามตัวอักษร
2. การตีความตามเจตนารมณ์ 
     

การวิเคราะห์


วัตถุประสงค์

บทนี้ต้องการให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในหัวข้อต่อไปนี้
1. การวิเคราะห์งาน
2. ประโยชน์ของการวิเคราะห์งาน
3. กระบวนการในการวิเคราะห์งาน
4. วิธีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับงาน
5. นักวิเคราะห์งาน
6. คุณสมบัติของนักวิเคราะห์งาน
ปัจจุบันการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ได้รับการยอมรับว่าเป็นงานหรือหน้าที่ทางธุรกิจที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์การ เนื่องจากงานทรัพยากรมนุษย์จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้นกำลังและคุณภาพของบุคลากร ซึ่งนับเป็นหัวใจในการดำเนินงานของทุกองค์การ โดยบุคลากรที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและพัฒนาการขององค์การ งานทรัพยากรมนุษย์จะมีหน้าที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสมาชิกแต่ละคนในองค์การ ตั้งแต่ก่อนที่เขาจะเริ่มงาน ขณะปฏิบัติงาน จนกระทั่งบุคลากรต้องเกษียณอายุออกจากองค์การไป ดังนั้นผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์สมควรต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับงานและธรรมชาติของงานภายในแต่ละองค์การ ในระดับที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้การปฏิบัติงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ของเขาเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อศักยภาพในการแข่งขันขององค์การ
การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) เป็นพื้นฐานสำคัญของงานด้านทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับจากกระบวนการวิเคราะห์งานจะสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้อย่างมากมายในกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานบุคลากร ดังนั้นนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถสมควรที่จะมีความรู้และความเข้าใจในหลักการวิเคราะห์งาน และสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์งานไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานจริง

การวิเคราะห์งาน

            ก่อนที่จะทำการศึกษาถึงความหมายของการวิเคราะห์งาน ผู้อ่านจะต้องมองเห็นภาพความสัมพันธ์ของขั้นตอนและกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานของบุคลากรภายในแต่ละองค์การ โดยนำความเข้าใจในความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
            การทำงาน (Work) หมายถึง  กิจกรรมที่บุคลากรในบุคลากรหนึ่งกระทำขึ้นด้วยกำลังกายและกำลังใจ เพื่อจุดมุ่งหมายหนึ่งที่เขาต้องการ เช่น เพื่อการดำรงชีวิต เพื่อความสบายใจ หรือเพื่อช่วยส่งเสริมสังคม เป็นต้น
            ตำแหน่ง (Position)  หมายถึง  หน้าที่และความรับผิดชอบที่องค์การมอบหมายให้บุคลากรแต่ละคน โดยจำนวนตำแหน่งจะมีมากเท่ากับจำนวนบุคลากรในองค์การนั้น
            งาน (Job)  หมายถึง กลุ่มของตำแหน่งที่มีชนิดและระดับของงานเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งประกอบด้วย ผู้จัดการ 1 คน ผู้ช่วยผู้จัดการ 1 คน พนักงานขาย 10 คน เสมียน 3 คน และพนักงานส่งของ 2 คน ดังนั้นบริษัทนี้จึงมีตำแหน่ง 17 ตำแหน่ง แต่มีงาน 4 งาน ได้แก่  ผู้บริหาร  พนักงานขาย  เสมียน  และพนักงานส่งของ
            อาชีพ ( Occupationหมายถึง  กลุ่มของงาน (Job) ที่มีลักษณะคล้ายกัน และผู้ประกอบอาชีพนั้นจะปฏิบัติงานโดยวิธีการอย่างเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น แพทย์  วิศวกร  และนักบัญชี  เป็นต้น
            ความหมายของศัพท์ที่กล่าวมา แสดงให้เห็นว่าบุคลากรแต่ละคนจะปฏิบัติงานในส่วนต่างๆ ขององค์การตามสาขาอาชีพของตน และ/หรือตามตำแหน่งงานที่ได้รับการแต่งตั้ง การที่องค์การจะสามารถจัดสรรให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะต้องทำการศึกษาและวิเคราะห์งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลและเข้าใจถึงธรรมชาติหรือลักษณะเฉพาะของงานนั้นๆ อันจะส่งผลให้องค์การสามารถที่จะจัดหาและจัดสรรบุคลากรที่เหมาะสมกับงานและตำแหน่งได้เป็นอย่างดี  ซึ่งจะทำให้องค์การสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะก่อให้เกิดการพัฒนาและการเจริญเติบโตขององค์การ เพื่อให้เข้าใจความหมายของการวิเคราะห์งาน เราจะขอยกความหมายที่มีผู้กล่าวถึงไว้มาเป็นแนวทางในการหาข้อสรุปเพื่อการนำไปใช้งาน ดังต่อไปนี้
            ศิริโสภาคย์  บูรพาเดชะ (ปี พ.. 2534) ให้ความหมายว่า การวิเคราะห์งาน หมายถึงกระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงานอย่างใดอย่างหนึ่ง กระบวนการนี้จะทำให้ฝ่ายการจัดการทราบว่าจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ และความรับผิดชอบอย่างไร ผู้ปฏิบัติงานจึงจะทำงานนั้นให้สำเร็จลงได้
            ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์ (ปี พ.. 2535) ให้ความหมายว่า การวิเคราะห์งานเป็นการศึกษางานถึงหน้าที่ในงานและสภาพการทำงาน รวมทั้งคุณลักษณะประจำตัวบุคลากรที่เหมาะสมกับงานนั้นที่จะเป็นปัจจัยที่สำคัญของการทำงาน
            เดอ เซนโซ และรอบบินส์ (De Cenzo and Robbins) ปี ค.. 1993 ให้ความหมายว่า การวิเคราะห์งานเป็นการศึกษาอย่างเป็นระบบถึงกิจกรรมที่ต้องการทำในแต่ละงาน โดยที่การวิเคราะห์ระบบจะเป็นขั้นตอนทางเทคนิคที่ถูกนำมาใช้ในการกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ และขอบข่ายของงานนั้น
            ทอมป์กินส์ (Tompkins) ปี ค.1995  ให้ความหมายว่า การวิเคราะห์งานเป็นกระบวนการที่มีการจัดทำอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวม บันทึกหลักฐาน และวิเคราะห์สารสนเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน
            เราจะเห็นว่าจากความหมายของการวิเคราะห์งานที่กล่าวถึงข้างต้น จะมีลักษณะร่วมที่สำคัญบางประการดัง
1. กระบวนการ (Process) การวิเคราะห์งานจะมีลักษณะเป็นกระบวนการอันประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ที่ถูกนำมาประกอบกัน เพื่อการวิเคราะห์งานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถรวบรวมสารสนเทศของงานได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้องค์การหรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์สามารถนำข้อมูลที่ได้จากกระบวนการนี้ไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานได้
2. ระบบ (System) การวิเคราะห์งานเป็นกระบวนการที่ต้องมีการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยที่ในกระบวนการวิเคราะห์งานนั้นจะมีการนำปัจจัยนำเข้า (Inputs) ซึ่งจะได้แก่ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับการสนใจศึกษามาผ่านขั้นตอนการประมวลผล ตั้งแต่การศึกษา ทำความเข้าใจและวิเคราะห์จนได้เป็นผลลัพธ์ (Outputs) หรือสารสนเทศของงาน (Job Information) สำหรับการนำไปใช้งานในอนาคต เช่น เอกสารพรรณางาน (Job Description) และเอกสารระบุข้อกำหนดของงาน  (Job Specification) เป็นต้น
3. ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ การวิเคราะห์งานจะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานเพื่อให้ได้สารสนเทศของงานนั้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปกระยุกต์ใช้ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์และงานอื่นขององค์การ
เราสามารถสรุปได้ว่า การวิเคราะห์งาน หมายถึง กระบวนการที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบซึ่งถูกนำมาใช้ในการศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงาน เพื่อที่จะได้สารสนเทศของงานนั้น เพียงพอต่อการที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมอื่นในอนาคต”  โดยที่ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์งานจะถูกจัดทำอยู่ในหลายลักษณะ เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสม โดยสารสนเทศของงานที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. เอกสารพรรณน าลักษณะงาน (Job Description) ถูกเขียนขึ้นโดยมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ขอบเขตของงาน และกระบวนการปฏิบัติงาน ตลอดจนเหตุผลและความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานนั้น ปกติเอกสารพรรณางานจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละองค์การ แต่โดยทั่วไปแล้วเอกสารพรรณาลักษณะงานจะประกอบด้วยข้อความที่สำคัญดังต่อไปนี้
v     ตำแหน่งงาน (Job Title)
v     หน้าที่ (Functions)
v     ความรับผิดชอบ (Responsibilities)
v     คุณลักษณะของงาน (Job Characteristics)
v     เงื่อนไขสภาวะแวดล้อม (Environmental Conditicns)
2. เอกสารระบุข้อกำหนดของงาน (Job Specification) จะระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในหน้าที่นั้น โดยเอกสารระบุข้อกำหนดของงานจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้เป็นแนวทางในการสรรหาบุคลากรที่เหมาะสมเพื่อเข้าปฏิบัติงานในแต่ละตำแหน่งขององค์การ โดยทั่วไปแล้วเอกสารระบุข้อกำหนดของงานจะมีส่วนประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้
v     การศึกษา (Education)
v     ประสบการณ์ (Experience)
v     ความรู้ (Knowledge)
v     ความสามารถ (Ability)
v     ความชำนาญ (Skill)
v     คุณสมบัติทางกายภาพ (Physical)
v     ความพร้อมทางจิตใจ (Psychological Readiness)

การแยกแยะ


  ปัญหาใหญ่ของผู้ศึกษาและปฏิบัติในแนวทาง"ปฏิจจสมุปบาท"แล้ว คือระลึกรู้ไม่เท่าทันเวทนา  ก็เนื่องจากแยกแยะเวทนา หรือจิตอันหมายถึงจิตสังขารไม่แจ่มแจ้งไม่ชัดเจน  ทั้งสองต่างถือเป็นหัวใจในการใช้ปฏิจจสมุปบาทในการปฏิบัติ  รวมทั้งสติปัฏฐาน ๔   มักมองเห็นแต่ จิตสังขารหรือความคิด อันเป็นผลแล้ว  หรืออาจ"เป็นผลที่ตัณหาได้กระทำลงไปแล้ว คือเป็นอุปาทานสังขารขันธ์ คือจิตสังขารที่ประกอบด้วยอุปาทาน อันเป็นอุปาทานทุกข์"   ทั้งๆที่รู้ว่าเพราะ "เวทนา เป็นเหตุปัจจัย จึงมี ตัณหา" แต่เพราะการที่ไม่"โยนิโสมนสิการ"  จึงแยกแยะเวทนากับจิตสังขารหรือความคิด(สังขารขันธ์)  ซึ่งเป็นคนละขันธ์คนละกองกันไม่ออก กล่าวคือ เวทนาขันธ์และสังขารขันธ์   จึงมองไม่เห็นว่าเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาโดยตรง ไม่ใช่จิตสังขารหรือความคิดที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาโดยตรง   ซึ่งเป็นการแยกแยะโดยปัญญาหรือความเข้าใจ(ไม่ใช่การไปเห็นหรือรู้สภาพจิตกำลังทำงานเป็นขั้นๆเป็นตอนๆทุกขณะจิตในชีวิตประจำวัน) เมื่อไม่เข้าใจจึงทำให้มองเห็นเวทนาและสังขารขันธ์คิด คลุกเคล้ากลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันหรือสิ่งเดียวกันไป ทำให้การปฏิบัติสับสนไม่ก้าวหน้าเพราะปฏิบัติไม่ถูกเป้าหมาย อันคือ “ธรรมใดเกิดแต่เหตุ   เหตุดับธรรมนั้นก็ดับ
     พิจารณาในกระบวนธรรมแบบขันธ์ ๕  โดยนำไปพิจารณาเกี่ยวกับวงจรปฏิจจสมุปบาท  ที่เกิดขึ้นที่สฬายตนะ  และ สังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท)  อย่างย่อ
    รูป  ตา  วิญญาณ ผัสสะ เวทนา   สัญญา  สังขารขันธ์ - กระทำทางกาย,วาจา,ใจคิดนึก
    นี้คือขันธ์ ๕ อันเกิดแต่สฬายตนะ(ตา)  รูป(รูปในอายตนะภายนอก)เป็นเหตุจึงมีเวทนา และเวทนาเป็นเหตุปัจจัยจึงมีผลเป็นสังขารขันธ์ เช่น คิดขึ้น
    สังขาร(คิดหรือธรรมมารมณ์)  ใจ  วิญญาณ ผัสสะ เวทนา  สัญญา  สังขารขันธ์ - กระทำทางกาย,วาจา,ใจคิดนึก<
     นี้คือขันธ์ ๕ อันเกิดแต่สฬายตนะ(ใจ) และ สังขารที่สั่งสมอบรมไว้(ในวงจรปฏิจจสมุปบาท) คือ คิดนึกจากทุกข์เก่าๆอันเนื่องมาจากอาสวะกิเลส(อันเป็นเช่นธรรมารมณ์หรือคิดในอายตนะภายนอกเช่นกัน) ทำหน้าที่เป็นเหตุจึงมีเวทนา,  และเวทนาเป็นเหตุจึงมีสังขารคิด แต่เป็นคิดอย่างเป็นฝ่ายผลเช่นกันกับขบวนการแรก
        จากขันธ์ ๕ ทั้ง ๒ แบบนี้  จักแยกให้เห็นได้ชัดเจนว่า เพราะเวทนา เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดสังขารขันธ์อันคือความคิดต่างๆได้
        ถ้าเราหยุดหรือผ่ากระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ออกเป็น  ๒ ส่วน ตรงตำแหน่งเวทนาที่เกิดขึ้น,   แล้วขณะเกิดเวทนาขึ้นนั้น  แทนที่จะดําเนินต่อไปตามกระบวนธรรมของชีวิตตามปกติหรือขันธ์ ๕   เวทนานั้นกลับไปเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้นมาเสียก่อน  กระบวนธรรมของจิตจึงแปรเป็นไปดังนี้.........
เกิดตัณหา  อุปาทานจึงเกิดขึ้น  และเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ  และเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ  อันคือการเริ่มเกิดของกองทุกข์
จึงเป็นไปดังนี้
รูป  ตา  วิญญาณ ผัสสะ เวทนา  ตัณหา  อุปาทาน  ภพ  ชาติ
แล้วขันธ์ ๕ ก็ดำเนินต่อไปเพื่อให้จบกระบวนธรรม  แต่ขันธ์ที่เกิดต่อไปนั้น มีการแปรปรวนไปกล่าวคือย่อมประกอบด้วยอุปาทาน  ดังตัวอย่างนี้
รูป  ตา  วิญญาณ ผัสสะ เวทนา  ตัณหา  อุปาทาน  ภพ  ชาติอันคืออุปาทานสัญญา  อุปาทานสังขารขันธ์
        นี้คือขันธ์ ๕ อันเริ่มต้นเป็นอุปาทานทุกข์จริงๆ อันมีเวทนาเป็นเหตุปัจจัยโดยตรงให้เกิดต้นขบวนของทุกข์อันคือตัณหา อันยังให้เกิดอุปาทานตามมา  (รูป ตา วิญญาณ ก็เป็นเหตุแต่แก้ไขไม่ได้ เป็นสภาวธรรม ต่างก็ทําหน้าที่แห่งตน)
        เวทนา คือการเสวยอารมณ์ นั้นเป็น"เพียงความรู้สึกในการรับรู้" ตามธรรมชาติ และเป็นเพียงการรับรู้ *ความรู้สึกที่ถูกใจ ไม่ถูกใจ หรือเฉยๆที่มีต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์(คิด)ที่กระทบ (รูป เสียง....อายตนะภายนอกทำหน้าที่เป็นอารมณ์คือสิ่งที่จิตยึดเหนี่ยว)ดังตัวอย่างเวทนาต่างๆ   ณ ที่นี้เราเพิ่มสัญญาความจำเพื่อขยายรายละเอียดขันธ์ ๕ เพิ่มขึ้นเข้าไปด้วยเพื่อให้เห็นรายละเอียดในการเกิดของเวทนาได้แจ่มแจ้งขึ้น
รูป  ตา  วิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำ  เวทนา รับรู้อารมณ์รูป หรือ ความรู้สึก ที่รับรู้รูปที่มากระทบ
เสียง  หู  วิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำ  เวทนา รับรู้อารมณ์เสียง, ความรู้สึก ที่รับรู้เสียงที่มากระทบ
กลิ่น  จมูก  วิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำ  เวทนา รับรู้อารมณ์กลิ่น, ความรู้สึก ที่รับรู้กลิ่นที่มากระทบ
รส  ลิ้น  วิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำ  เวทนา รับรู้อารมณ์รสชาด, ความรู้สึก ที่รับรู้รสที่มากระทบ
โผฏฐัพพะ(สัมผัส)  กาย  วิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำ  เวทนา รับรู้อารมณ์สัมผัส, ความรู้สึก ที่รับรู้สัมผัสที่มากระทบ
คิด  ใจ  วิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำ  เวทนา รับรู้อารมณ์คิด, ความรู้สึก ที่รับรู้ความคิดที่มากระทบ