วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
การตีความ
การตีความกฎหมาย คือการตี "ถ้อยคำ" ของกฎหมายให้ได้เป็นข้อความที่จะนำไปใช้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท การตีความไม่ใช่แปลความ การแปลเป็นการกระทำตรงไปตรงมาไม่ต้องขบคิดค้นหาอะไรมาก ความในภาษาหนึ่งเป็นอย่างไร แปลไปสู่อีกภาษาหนึ่งให้ตรงกันก็ใช้ได้ แต่การตีความเป็นการขบคิดค้นหาจากคำตอบทางกฎหมายอย่างใช้เหตุใช้ผล ไม่ใช่การทายหรือเดาสุ่มทำนองการตีปริศนาหรือการทายปริศนา และไม่ใช่เป็นการแปลความด้วย
โดยสรุปการตีความมีความหมายว่า การคิดค้นหาจากบทบัญญัติของกฎหมายโดยวิธีใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยา และสามัญสำนึกเพื่อให้ได้มาซึ่ง "ข้อความ" ของกฎหมายที่จะนำไปใช้วินิจฉัยคดีข้อพิพาทได้อย่างถูกต้อง คือเหมาะเจาะเหมาะสมและเป็นธรรม
1. ในกรณีในที่ต้องมีการตีความ
เรื่องนี้มีความเห็นของนักนิติศาสตร์แตกต่างกันอยู่ 2 ฝ่าย กล่าวคือ
ฝ่ายแรก เห็นว่า ในกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายมีความหมายชัดเจนแน่นอนอยู่แล้วก็ไม่ต้องตีความกฎหมายนั้น การตีความกฎหมายจะเกิดมีขึ้นก็เฉพาะในกรณีบทบัญญัติของกฎหมายมีข้อเคลือบแคลงสงสัยเท่านั้น
ฝ่ายสอง เห็นว่า การตีความกฎหมายนั้นไม่จำกัดเฉพาะในกรณีถ้อยคำในกฎหมายไม่ชัดเจนเท่านั้น แม้ในกรณีที่ถ้อยคำในกฎหมายชัดเจนดีอยู่แล้วก็ต้องมีการตีความกฎหมาย เพราะความเป็นจริงถ้อยคำแต่ละถ้อยคำที่ประกอบเป็นข้อความนั้นไม่มีความหมายที่ชัดแจ้งในตัวของมันเอง ความหมายของมันจะชัดเจนขึ้น เมื่อเราอ่านรวมกับถ้อยคำอื่นที่เป็นข้อความแวดล้อมและที่รวมกันเข้าก็ประกอบเป็นข้อความทั้งหมดของเรื่องนั้น โดยสรุปก็คือต้องพิจารณาถึงถ้อยคำตัวอักษรที่ชัดเจนนั้นประกอบกับเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นพร้อมกันไป เพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงหรือเหตุผลที่แท้จริงของกฎหมาย
2. เหตุที่ต้องมีการตีความกฎหมาย
การที่ต้องมีการตีความกฎมายก็เพราะว่าฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าที่เกิดขึ้ในภายหน้าได้ทุกกรณี จึงไม่สามารถบัญญัติกฎหมายให้ครอบคลุมทุกกรณี นอกจากนั้นฝ่ายนิติบัญญติอาจมีความผิดพลาดในเรื่องการตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับได้ เช่นบัญญัติกฎหมายไวเคลือบคลุมหรือขัดแย้งกันเอง เช่นนี้ในการใช้กฎหมายจึงต้องมีการตีความกฎหมาย
3. การตีความกฎหมายทั่วไป
การตีความกำมหายต้องพิเคราะห์ตัวอักษรให้ได้ความหมายของตัวอักษร และการจะรู้ความหมายของตัวอักษรได้ต้องพิเคราะห์เหตุผลหรือความมุ่งหมายของกฎหมายประกอบดัวย กรตีความกฎหมายจึงต้องพิจารณาประกอบกันไป 2 ด้าน คือ พิเคราะห์ตัวอักษร และพิเคราะห์ความมุ่งหมายของกฎหมาย (เจตนารมณ์ของกฎหมาย) ไปด้วยกัน โดยสรุปในการตีความนั้นต้องใช้ทั้งตีความตามตัวอักษรประกอบกับการตีความตามเจตนารมณ์
แต่เพื่อประโยชน์ในการศึกษาจะขอแยกพิจารณาการตีความกฎหมายโดยทั่วไป เป็น 2 กรณี คือ
1. การตีความตามตัวอักษร
2. การตีความตามเจตนารมณ์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น